การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อตรวจประเมินฟีโนไทป์ของข้าว

Views Navigation

Event Views Navigation

Today

การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาของพืชในสภาพเครียด

ตึก Sc03 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น, Thailand

Thailand Rice Science Research Hub of Knowledge รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาของพืชในสภาพเครียด หลักการและเหตุผล ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนให้มีโครงการ “การพัฒนาศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยข้าวของประเทศไทย (Thailand Rice Science Research Hub of Knowledge หรือ ‘Hub of Rice’)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว รวมถึงการเชื่อมโยงกลุ่มนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ จากภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว กิจกรรมของ Hub of Rice มีการดำเนินการใน 4 ด้าน คือ Frontier Research, Rice Breeding, Product Development และ Capacity Building ในส่วนของ Capacity Building นั้น รวมถึงการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในทุกระดับด้วย ในการนี้ Hub of Rice จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาพืชในสภาพเครียด เพื่อถ่ายทอดความรู

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับเพื่อตรวจประเมินฟีโนไทป์ของข้าว

ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี – กรมการข้าว เลขที่ 60 หมู่ที่ 8 บ้านดอนชี ถนนแจ้งสนิท ต.หนองขอน, เมือง, อุบลราชธานี

  วันที่ 20 – 21 กุมภาพันธ์ 2568 สถานที่จัด ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี อาคารฝึกอบรม ห้องประชุมสุขี หลักการและเหตุผล การเกษตรกรรมในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการจัดการแปลงเพาะปลูกขนาดใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ โรคพืช และปัจจัยทางธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่างเต็มที่ การใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือ “โดรน” จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเกษตร โดยเฉพาะในการศึกษาการเจริญเติบโตของข้าว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย การใช้ UAV ในการเกษตรสามารถช่วยให้เกษตรกรและนักวิจัยสามารถเก็บข้อมูลจากแปลงข้าวในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปในแปลงเพาะปลูกโดยตรง การตรวจสอบลักษณะการเจริญเติบโตของข้าวอย่างละเอียดผ่านภาพถ่ายทางอากาศทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถคาดการณ์ปัญหาต่างๆ ได้ในระยะต้น เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีนี้ในการศึกษาและวิจัยด้านข้าว ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี กรมการข้าว ร่วมกับ Root Lab Thailand คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล และศูนย์กลางความรู้ด

Free