โครงการ “การใช้พหุเทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อน BCG Model ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนฐานการผลิตข้าวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแบบยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 14 – 29 พฤษภาคม 2568 ครอบคลุมในหลายอำเภอของจังหวัดพิจิตร รวมผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น: 1,590 คน
บเคลื่อนการผลิตข้าวในจังหวัดพิจิตร ด้วยการแนะนำพันธุ์ข้าวเจ้าใหม่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวไบโอเทค 1, ข้าวหอมสยาม, ข้าวหอมสยาม 2 และข้าวหอมชลสิทธิ์ 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ทนทานต่อสภาพอากาศและศัตรูพืช พร้อมคุณภาพดีทั้งด้านการสีและการบริโภค
ภายใต้ความร่วมมือของ ไบโอเทค สวทช., ธ.ก.ส. จังหวัดพิจิตร และสภาเกษตรกรจังหวัดพิจิตร มีการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพสูง รวมถึงแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนด้วยการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำและการใช้ AI ในการเกษตร เช่น ไลน์บอทโรคข้าว ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการจัดการแปลงและลดต้นทุน
เทคโนโลยีการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Rice)
Dr. Jonaliza L. Siangliw จากหน่วยปฏิบัติการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยำ (APBT) สังกัดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC), สวทช. ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานภายใต้โครงการ Hub of Rice ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการ “การพัฒนาวิธีการปลูกข้าวและแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในการดักจับคาร์บอน โดยพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Neural Network: ANN) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตข้าวในภูมิภาคเอเชีย (IAW–CCM Asia)” ภายใต้กรอบงานดังกล่าว Dr. Jonaliza ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับผู้ช่วยวิจัยเบื้องต้น เพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการผลิตข้าวคาร์บอนต่ำ โดยเนื้อหาการอบรมครอบคลุมการทดลองในแปลงนาข้าวเกี่ยวกับ
+ การจัดการระบบควบคุมน้ำในนาข้าวเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
+ การติดตั้งสถานีตรวจวัดก๊าซเรือนกระจกแบบอัตโนมัติ (Greenhouse Gas Monitoring Station)
+ การใช้ปุ๋ยชีวภาพจากแหนแดงเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการเจริญเติบโตของข้าวและลดการใช้ปุ๋ยเคมี1
#HubofRice #biotec #nstda #rsc #ku #homsiam #biotec1 #chonlasit
79