การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาของพืชในสภาพเครียด

Loading Events

« All Events

การอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาของพืชในสภาพเครียด

กุมภาพันธ์ 6กุมภาพันธ์ 7

Thailand Rice Science Research Hub of Knowledge

รายละเอียดการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาของพืชในสภาพเครียด

หลักการและเหตุผล

ตามที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้สนับสนุนให้มีโครงการ “การพัฒนาศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยข้าวของประเทศไทย (Thailand Rice Science Research Hub of Knowledge หรือ ‘Hub of Rice’)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศเพื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสู่การใช้ประโยชน์ เพื่อดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว รวมถึงการเชื่อมโยงกลุ่มนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ จากภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าว กิจกรรมของ Hub of Rice มีการดำเนินการใน 4 ด้าน คือ Frontier Research, Rice Breeding, Product Development และ Capacity Building ในส่วนของ Capacity Building นั้น รวมถึงการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ในทุกระดับด้วย ในการนี้ Hub of Rice จึงจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคสรีรวิทยาพืชในสภาพเครียด เพื่อถ่ายทอดความรู้ในการใช้เครื่องมือพื้นฐานทางสรีรวิทยาของพืชให้แก่อาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนการสอนและการวิจัยโดยเฉพาะด้านข้าว โดยมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 6 และ 7 กุมภาพันธ์ 2568 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีรายละเอียดและกำหนดการดังต่อไปนี้

 

สถานที่ – ตึก Sc03 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วัน-เวลา – วันพฤหัสบดีที่ 6 – ศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568)

วัตถุประสงค์ – เผยแพร่ความรู้และทักษะปฏิบัติการพื้นฐานทางสรีรวิทยาของข้าว เพื่อนำไปใช้ในการวิจัยด้านพฤกษศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์พืช การผลิตพืช เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมาย –  นักศึกษา (ระดับปริญญาตรี โท เอก) อาจารย์ นักวิจัย ผู้สนใจทั่วไป จำนวน 30 คน

การบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ(1) Gene editing in rice research (2) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ มข 60-1, มข 60-2, และ มข 60-3 (3) หลักการและการใช้เครื่องวัดคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนซ์ (Handy PEA)

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย

  1. การวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง (เครื่อง Li-Cor 6400 และ Li-Cor 6800)
  2. การประเมินประสิทธิภาพการสังเคราะห์ด้วยแสง (เครื่อง Handy PEA หรือ Mini-PAM II)
  3. การประเมินสภาพเครียดด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนแบบประหยัด (Low-cost Thermography)
  4. การวัดค่าศักย์ของน้ำในใบพืช (เครื่อง Pressure Bomb)
  5. การวัดค่าศักย์ออสโมซิส (เครื่อง Osmometer)
  6. การวิเคราะห์ข้อมูลเมแทบอโลมิกส์

 

คลิกดูรายละเอียดฟอร์มการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรม

 

พฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568
08.30 – 09.00 ลงทะเบียน หน้าห้องประชุม 1 ตึก SC03 สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ม. ขอนแก่น
9.00 – 10.00 บรรยาย – Theoretical basis of Infra-red gas exchange analysis and chlorophyll fluorescence (on line) Prof. Tracy Lawson
University of Illinois
10.00 – 12.00 บรรยายและปฎิบัติการการวัดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงด้วยเครื่อง Li-COR 6400XT และ Li-COR 6800 รศ.ดร. อโนมา ดงแสนสุข (มข.)
ผศ. ดร. กชพรรณ วงศ์เจริญ (ม.กาฬสินธุ์)
ดร. สุปราณี แสนธนู (มข.)
12.00 – 13.00 อาหารกลางวัน
13.00 – 14.00 บรรยายและปฎิบัติการ การทำ light response curve และ CO2 response curve และการวิเคราะห์ รศ.ดร. อโนมา ดงแสนสุข (มข.)
ผศ. ดร. กชพรรณ วงศ์เจริญ (ม. กาฬสินธุ์)
ดร. สุปราณี แสนธนู (มข.)
14.00 – 15.00 ปฏิบัติการการวัดคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนส์ด้วยเครื่อง Mini-PAM II ดร. สุปราณี แสนธนู (มข.)
15.00 – 16.30 บรรยายและปฏิบัติการการใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนแบบประหยัดเพื่อประเมินสภาพเครียดของข้าว ผศ.ดร.วัฒนชัย ล้นทม (มข.)
นางสาวอรชา เขียนโพธิ์ (มข.)
ศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2568
09.00 – 10.00 บรรยาย – Gene editing in Rice Research (on line) ศ.ดร.ศุภจิตรา ชัชวาลย์
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
10.00 – 11.00 บรรยาย – หลักการวัดคลอโรฟิลล์ฟลูออเรสเซนส์ด้วยเครื่อง Handy PEA หรือ Mini-PAM II (online) ดร. จุฑารัตน์ ปัญจขันธ์
(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
11.00 – 12.00 บรรยายและสาธิต – การปรับปรุงพันธุ์ข้าวพันธุ์ใหม่ มข 60-1, มข 60-2, และ มข 60-3 ผศ.ดร.จิรวัฒน์ สนิทชน (มข.)
ผศ. ดร. สมพงศ์ จันทร์แก้ว (มข.)
ผศ.ดร. ธิดารัตน์ มอญขาม (มข.)
12.00 – 13.00 อาหารกลางวัน
13.00 – 14.30 บรรยายและปฏิบัติการการวัดค่าศักย์ของน้ำและศักย์ออสโมซิสในพืช (เครื่อง Pressure Bomb และ เครื่อง Osmometer) ศ.ดร.ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์ (มข.)
ดร. สุปราณี แสนธนู (มข.)
นางสาวอรชา เขียนโพธิ์ (มข.)
14.30 – 16.00 บรรยาย – หลักการศึกษาเมแทบอโลมิกส์ของพืชและสาธิตการวิเคราะห์ข้อมูล รศ.ดร.เมศยา ธิติศักดิ์สกุล (มข.)
16.00 – 16.30 สรุปผลการอบรมเชิงปฏิบัติการ
หัวหน้าโครงการ Hub of Rice

รศ.ดร.ศิวเรศ อารีกิจ
ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร กำแพงแสน
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
อีเมล์ suwaret.a@ku.ac.th

ผู้ประสานงานโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ

ศ.ดร.ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์
นักวิจัยอาวุโส สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อีเมล์ piythe@kku.ac.th

 

Details

Start:
กุมภาพันธ์ 6
End:
กุมภาพันธ์ 7
Event Category:

Organizers

Hub of Rice
Khon Kaen University

Venue

ตึก Sc03 คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น 40002 Thailand + Google Map
View Venue Website