ประเทศไทยในฐานะประเทศมหาอํานาจด้านข้าวของโลก ที่มีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปข้าวในแต่ละปีมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก การเติบโตทางด้านเศรษฐกิจนี้มีเหตุผลที่สําคัญอย่างหนึ่ง มาจากการทํางานอย่างหนักของนักวิจัยและนักปรับปรุงพันธุ์ข้าวของไทยที่มีความสามารถและศักยภาพสูงระดับโลก สามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติดีเด่นออกมาสู่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้มีความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์เกษตร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ในการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการ DNA Fingerprint ด้านพืชและสัตว์ ปี พ.ศ. 2543 การจัดตั้งห้องปฏิบัติการดีเอ็นเอเทคโนโลยี (DNATEC) ปี พ.ศ. 2544 และการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการค้นหาและ ใช้ประโยชน์ยีนข้าว และปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยปฏิบัติการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยํา ปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีคําสั่งจัดตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว ให้มีการประสานการทํางานร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ซึ่งมุ่งเน้นในการสร้างความเป็นเลิศทางด้านจีโนมพืช และการปรับปรุงพันธุ์แนวอณูวิธี(molecular breeding) โดยเน้นด้านการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวจากต้นน้ำ กลางน้ำสู่ปลายน้ำ และการพัฒนาพันธุ์ข้าวตามความต้องการของผู้บริโภค ผู้ส่งออก รวมทั้งพันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติเฉพาะทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยพันธุ์ข้าวที่พัฒนาจะต้องมีความต้านทานต่อโรค แมลง และปรับตัวได้ดีต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปที่เกิดจากสภาวะโลกรวน โดยมีการปฏิบัติงานร่วมกัน ณ อาคารศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม ทั้งสองหน่วยงานได้มีความร่วมมือในการทํางานวิจัยด้านข้าว และสนับสนุนการดําเนินงานซึ่งกันและกันมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี เป็นศูนย์กลาง (Regional Hub) ของการใช้เทคโนโลยีด้าน Marker Assisted Selection (MAS) ในระดับประเทศและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และมีผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านจีโนม การปรับปรุงพันธุ์ข้าว และสายพันธุ์ข้าวดีเด่นที่พร้อมเผยแพร่ในการใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะและเชิงพาณิชย์ เช่น พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน พันธุ์ข้าวเหนียวธัญสิรินต้านทานโรคไหม้ พันธุ์ข้าวเหนียว กข6 ต้นเตี้ย พันธุ์ข้าวน่าน59 พันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคา พันธุ์ข้าวเจ้าหอมสยาม พันธุ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ พันธุ์ข้าวสินเหล็ก พันธุ์ข้าวหอมมาลัยแมน และพันธุ์ข้าวปิ่นเกษตร เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว และหน่วยปฏิบัติการนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชและการเกษตรแบบแม่นยํามีความพร้อมด้วยบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยสําหรับงานวิจัยด้านชีวโมเลกุล โรงเรือนปลูกพืชทดลองสําหรับงานประเมินลักษณะต่างๆ ห้องเย็นเก็บเมล็ดพันธุ์และแปลงทดลองขนาดเล็ก สําหรับงานคัดเลือกไปจนถึงแปลงขนาดใหญ่สําหรับการผลิตเมล็ดพันธุ์ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาได้สร้างองค์ความรู้ในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณสมบัติตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวสู่ประชาชนในงาน NSTDA-KU Rice Field Day 2023 ที่จัดขึ้น เมื่อวันที่ 18-19 กันยายน พ.ศ.2566 ณ แปลงนาทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ในปี พ.ศ.2567 ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และภาคีเครือข่ายศูนย์กลางความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัยข้าวของประเทศไทย (Hub of rice) พิจารณาแล้วว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงและมีสายพันธุ์ข้าวต่างๆ และพันธุกรรมข้าวที่ได้รับการพัฒนาโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่จาก บุคคล องค์กร สถาบันต่างๆ ของประเทศไทยน่าจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและภาคเอกชน จึงร่วมกันจัดงาน National Rice Field Day 2024 เพื่อเป็นการแสดงองค์ความรู้ด้านข้าวของประเทศไทยและศักยภาพด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้าว รวมทั้งนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ในระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ แปลงนาฝึกงานนิสิตคณะเกษตร กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้
ชิมข้าว – ชมข้าว
ข้าวพันธุ์ใหม่ ๆ พันธุ์เด่น ๆ จาก 102 สายพันธุ์มาหุงให้ผู้ร่วมงานชิม
- การจัดแสดงพันธุ์ข้าว นําเสนอพันธุ์ข้าวเพื่ออนาคตรับภาวะโลกรวน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานโรค แมลง
- สภาพแวดล้อมวิกฤติซึ่งประกอบด้วย พันธุ์ข้าวที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว พันธุ์ข้าวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร พันธุ์ข้าวที่ได้รับการจดคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่จากกรมวิชาการเกษตรพันธุ์ข้าวที่ได้เผยแพร่สู่เกษตรกร หรือพร้อมเผยแพร่สู่เกษตรกร และสายพันธุ์ศักยภาพสูง (Elite line) ที่พร้อมวิจัยต่อยอด
- การนําเสนอความก้าวหน้าทางจีโนมิกส์และการให้บริการเชิงวิชาการ นําเสนอความก้าวหน้าของ เทคโนโลยี ด้านจีโนมิกส์สําหรับการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบแม่นยํา โดยเน้นข้าว และพืชสําคัญทาง เศรษฐกิจ รวมทั้งพืช มูลค่าสูง
- การนําเสนอการบริการประเมินลักษณะ biotic & abiotic stress สําหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวนําเสนอวิธีการประเมินลักษณะต้านทานโรคและแมลง ทนร้อน ทนน้ำท่วม เป็นต้น
งาน National Rice Field Day 2024 ในครั้งนี้ นอกจากนําเสนอศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว ใหม่ที่พัฒนาร่วมกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ แล้ว ยังมุ่งเน้นการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อนําไปสู่การเกษตร แบบ BCG โมเดล เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่การผลิตข้าว ความมั่นคงทางอาหารและรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผู้ร่วมงานจะได้ร่วมรับประทานข้าวและผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์งานดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นพร้อมกันกับงานเกษตรกําแพงแสน ประจําปี 2567 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-10 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม อีกด้วย
วัตถุประสงค์การจัดงาน
- เพื่อแสดงศักยภาพสายพันธุ์ข้าวดีเด่นที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบแม่นยํา ในภาคสนามแปลงนา
- เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์พืชที่สําคัญทางเศรษฐกิจและพืชมูลค่าสูง ด้วยความก้าวหน้าทางจีโนมิกส์และการให้บริการเชิงวิชาการจีโนมิกส์สําหรับการปรับปรุงพันธุ์ โดยเน้นพืชที่สําคัญทางเศรษฐกิจและพืชมูลค่าสูง
- เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแบบแม่นยํา สายพันธุ์ข้าวใหม่ที่มีคุณสมบัติ ดีเด่นที่เกิดจากผลงานวิจัยให้กับนักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และ เกษตรกรให้สามารถนําองค์ความรู้และเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต
- เพื่อนําเสนอการบริการประเมินลักษณะ biotic & abiotic stress สําหรับการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยนําเสนอวิธีการประเมินลักษณะต้านทานโรคและแมลง ทนร้อน ทนน้ำท่วม เป็นต้น
- เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างความร่วมมือทั้งเชิงสาธารณประโยชน์และเชิงพาณิชย์
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.ส่งเสริมการเผยแพร่องค์ความรู้และผลงานวิจัยด้านพันธุ์ข้าวจากหน่วยงานชั้นนำทั่วประเทศ เช่น กรมการข้าว สวทช. และมหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวให้มีคุณภาพสูงและตอบโจทย์ความต้องการของตลาด
2.เปิดโอกาสให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกรได้พบปะและสร้างเครือข่ายความร่วมมือเชิงพาณิชย์ เช่น การส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว และการเชื่อมโยงกับตลาดโลก
3.การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการปลูกข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการลดการใช้ทรัพยากรและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
4.การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน ช่วยสร้างแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมข้าวที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ระดับชาติ
5.ผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าวและเพิ่มมูลค่าในเชิงพาณิชย์ ช่วยสร้างรายได้และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยในตลาดโลก