งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว

งานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว

งานวิจัยข้าวไทย

ข้อมูลพันธุ์ข้าวจากงานวิจัยที่ได้รับการพัฒนาโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ไบโอเทค(สวทช) ภาคีเครื่อข่าย Hub of Rice เพื่อตอบสนองความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภค

ข้าวหอมพื้นนุ่ม

หอมสยาม
ข้าวหอมสยาม ข้าวนาปี/นาน้ำฝน

ข้าวเจ้าพันธุ์ “หอมสยาม” เป็นข้าวเจ้าหอมนุ่ม ไวต่อช่วงแสง ลำต้นแข็งแรง มีความสูงปานกลาง ให้ผลิตสูง มีคุณภาพต้านทานต่อโรคไหม้และสภาวะแล้ง การหุงต้มดีเหมือนขาวดอมะลิ 105

หอมสยาม 2
ข้าวหอมสยาม 2 ข้าวนาปี/นาน้ำฝน

ให้ผลผลิตสูงกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีกลิ่นหอม หุงต้มเหมือนขาวดอกมะลิ 105 ทนต่อน้ำท่วมฉับพลัน และต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในระดับปานกลาง

หอมมาลัยแมน
ข้าวหอมมาลัยแมน ข้าวนาปรัง/นาชลประทาน

หอมนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง เมล็ดเรียวยาวพิเศษ ให้ผลผลิตดีในการปลูกแบบเกษตรอินทรีย์

หอมจินดา
ข้าวหอมจินดา ข้าวนาปรัง/นาชลประทาน

มีกลิ่นหอม ต้านทานโรคขอบใบแห้ง ลำต้นแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ต้นสูงปานกลาง ผลผลิตสูง

ข้าวไบโอเทค1
ข้าวไบโอเทค1 ข้าวนาปรัง/นาชลประทาน

ข้าวเจ้าพันธุ์ไบโอเทค1 ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ ข้าวอายุเบา #51 สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นข้าวอายุเบา กับ ข้าวสายพันธุ์ RGD12153 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ระหว่างปี พ.ศ.2556 – 2563 โดยไบโอเทค สวทช.

เป็นสายพันธุ์ข้าวขาว ไม่หอม อายุเบา ที่ให้ผลผลิตดี ไม่หักล้มง่าย แตกกอดี ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี เหมาะกับพื้นที่นาชลประทาน

ข้าวหอมชลสิทธิ์2
ข้าวหอมชลสิทธิ์2 ข้าวนาปรัง/นาชลประทาน

หอมชลสิทธิ์ 2 เป็นข้าวเจ้า หอม นุ่ม ปลูกได้ตลอดทั้งปี ที่มีพื้นฐานพันธุกรรมมาจากข้าวหอมชลสิทธิ์เดิม (พันธุ์แม่)

มีลักษณะเด่น:

  • ทนน้ำท่วมฉับพลัน (Sub1)
  • ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Bph3 และ Bph32)
  • ต้านทานต่อโรคขอบใบแห้ง (xa5 และ Xa21)
ข้าวหอมนาเล (ข้าวหอมเลน้อย)
ข้าวหอมนาเล ข้าวนาปรัง/นาชลประทาน

เป็นข้าวเจ้าหอม พื้นนุ่ม ไม่ไวต่อช่วงแสง ทนน้ำท่วมฉับพลัน ต้านทานโรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ให้ผลผลิตสูงไร่ละ 800-900 กก. สามารถปรับตัวได้ดีต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โดยเฉพาะนาลุ่มภาคใต้ที่มีวิถีการทานา ริมเล สามารถตอบโจทย์การสนับสนุนการฟื้น และสืบสานวัฒนธรรมการทานาของคนใต้ และยังถือเป็นการบูรณาการงานวิจัยเชิงพื้นที่สนับสนุน การขับเคลื่อน BCG สาขาเกษตร

ข้าวเหนียว

ข้าวเหนียวน่าน 59
ข้าวเหนียวน่าน 59

มีกลิ่นหอม ต้นเตี้ย ทนการหกล้ม ต้านทานโรคไหม้ และโรคขอบใบแห้ง

ข้าวเหนียวหอมนาคา
ข้าวเหนียวหอมนาคา

ลำต้นแข็งแรง มีกลิ่นหอม และนุ่มเหนียวเมื่อหุงสุก สามารถปลูกได้ตลอดปี

ข้าวสี ข้าวโภชนาการ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่
ข้าวไรซ์เบอร์รี่

ข้าวเจ้าสีม่วงทีมีสารต้านอนุมูลอิสระสูง เมล็ดอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ แอนโทไซยานิน โพลีฟีนอล แกมมา-ออไรซานอลวิตามินึ้น B-complex และวิตามินอี

ข้าวกล้องหุงสุกมีความนุ่ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สารสกัดจากรำข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งทดสอบ นอกจากนี้ รำข้าวและน้ำมันของข้าวไรซ์เบอร์รี่ยังเป็นแหล่งที่ดีของพรีบิโอติกส์อีกด้วย

ข้าวเหนียวเรดเบอร์รี่
ข้าวเหนียวเรดเบอร์รี่

Redberry เป็นข้าวเหนียวต้นเตี้ย สีของเมล็ดเป็นสีแดงอิฐ ปลูกตลอดทั้งปี เมล็ดข้าวหุงสุก จะมีสีแดงอิฐและมีความเหนียวน้อยกว่าข้าวเหนียวยอดนิยมทั่วไป

Redberry มีเส้นใยอาหารรวมสูงที่สุด ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำมากที่สุด มากกว่าผลิตภัณฑ์ข้าวเต็มเมล็ดอื่นๆ นอกจากนี้ Redberry ยังอุดมไปด้วย Proanthocyanin และ Polyphenol ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการต้านมะเร็งที่พบในข้าวที่มีเม็ดสี

ข้าวสรรพสี 01-05
ข้าวสรรพสี

สายพันธุ์ข้าวที่มีใบสีสันงดงามแตกต่างกันออกไป:

  1. สายพันธุ์ใบสีชมพูทับทิมต้นสูง (สรรพสี 01)
  2. ใบสีชมพูทับทิมต้นเตี้ย (สรรพสี 02)
  3. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นสูง (สรรพสี 03)
  4. ใบสีชมพูแถบเขียวและขาวต้นเตี้ย (สรรพสี 04)
  5. ใบสีขาว (สรรพสี 05)

ข้าวที่ใบมีสีสันงดงามแตกต่างกันออกไป นอกจากเราจะได้เมล็ดข้าวเพื่อนำไปบริโภคแล้ว ยังสามารถปลูกใช้ประดับเพิ่มความสวยงามเน้นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร